พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ ๙
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงพระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสใน สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และ หม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี)
พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพ เมื่อ วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเคมบริดจ์ เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
ทรงเป็นพระราชโอรสองค์เล็กใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี (เดิมทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์)
ทรงมีพระเชษฐภคินี คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ และ พระบรมเชษฐาธิราช คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จจากสหรัฐอเมริกา นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรก
ครั้้นเมื่อ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกก็เสด็จสวรรคต ณ กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงได้โดยเสด็จพระบรมราชชนนี พร้อมกับพระเชษฐภคินี และพระบรมเชษฐาธิราชไปประทับ ณ ตำหนักวิลล่าวัฒนา เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้โดยเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานประมาณ ๓ เดือน จึงโดยเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ได้โดย เสด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมกับ สมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สาม ประทับณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวังในระหว่างที่ประทับอยู่ในประเทศไทย ๒ ครั้งหลังนี้ได้โดยเสด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ตลอดมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดหลายครั้ง
ครั้นในวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน รัฐสภามีมติเป็นเอกฉันท์กราบบังคมทูลเชิญขึ้นครองสิริราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ เฉลิมพระปรมาภิไธย ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กลับไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงศึกษาต่อ คราวนี้ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและการปกครอง แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่เคยทรงศึกษาแต่เดิม เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชภาระที่ต้องทรงรับในฐานะพระมหากษัตริย์ของประเทศ
ทรงประสบอุบัติเหตุ ในวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เมื่อรถยนต์พระที่นั่งที่ทรงขับชนกับรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ บริเวณริมทะเลสาปเยนีวา ทรงได้รับบาดเจ็บที่พระเศียร พระพักตร์และพระเนตรด้านขวา ต้องประทับรักษาพระอาการประชวรเป็นเวลา ๕ เดือน จึงมีพระพลานามัยดีเหมือนเดิม
ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สี่ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด งานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ณ วังสระปทุม พร้อมกับทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีขึ้น
เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยเป็น “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” ในโอกาสนั้นได้ทรงมีพระบรมราชโองการว่า “เราจักครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และ ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงผนวชณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน โดยมี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีมีพระโอรสและพระราชธิดารวม ๔ พระองค์ ได้แก่
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี
ประสูติเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับชาวต่างชาติ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ
ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ต่อมาได้นับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาราช สยามมงกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์
ประสูติเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุรากรปิยชาติสยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
ประสูติเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพ เมื่อ วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเคมบริดจ์ เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ สหรัฐอเมริกา
ทรงเป็นพระราชโอรสองค์เล็กใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี (เดิมทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์)
ทรงมีพระเชษฐภคินี คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ และ พระบรมเชษฐาธิราช คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จจากสหรัฐอเมริกา นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรก
ครั้้นเมื่อ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกก็เสด็จสวรรคต ณ กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงได้โดยเสด็จพระบรมราชชนนี พร้อมกับพระเชษฐภคินี และพระบรมเชษฐาธิราชไปประทับ ณ ตำหนักวิลล่าวัฒนา เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้โดยเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานประมาณ ๓ เดือน จึงโดยเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ได้โดย เสด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมกับ สมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สาม ประทับณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวังในระหว่างที่ประทับอยู่ในประเทศไทย ๒ ครั้งหลังนี้ได้โดยเสด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ตลอดมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดหลายครั้ง
ครั้นในวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน รัฐสภามีมติเป็นเอกฉันท์กราบบังคมทูลเชิญขึ้นครองสิริราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ เฉลิมพระปรมาภิไธย ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กลับไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงศึกษาต่อ คราวนี้ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและการปกครอง แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่เคยทรงศึกษาแต่เดิม เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชภาระที่ต้องทรงรับในฐานะพระมหากษัตริย์ของประเทศ
ทรงประสบอุบัติเหตุ ในวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เมื่อรถยนต์พระที่นั่งที่ทรงขับชนกับรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ บริเวณริมทะเลสาปเยนีวา ทรงได้รับบาดเจ็บที่พระเศียร พระพักตร์และพระเนตรด้านขวา ต้องประทับรักษาพระอาการประชวรเป็นเวลา ๕ เดือน จึงมีพระพลานามัยดีเหมือนเดิม
ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สี่ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด งานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ณ วังสระปทุม พร้อมกับทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีขึ้น
เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยเป็น “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” ในโอกาสนั้นได้ทรงมีพระบรมราชโองการว่า “เราจักครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และ ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี
เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงผนวชณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน โดยมี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีมีพระโอรสและพระราชธิดารวม ๔ พระองค์ ได้แก่
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี
ประสูติเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับชาวต่างชาติ
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ
ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ต่อมาได้นับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาราช สยามมงกุฎราชกุมาร
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์
ประสูติเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุรากรปิยชาติสยามบรมราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
ประสูติเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น