วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และการกู้อิสรภาพ
ทุกครั้งที่กรุงศรีอยุธยามีเหตุการณ์ภายในไม่เรียบร้อย
และทางพม่ามีกษัตริย์ที่เข้มแข็งในการศึก พม่าก็มักจะเข้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยา และเมื่อได้ชัยชนะก็กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยและขนเอาทรัพย์สมบัติกลับไปพม่าเป็นจำนวนมาก
ดังปรากฏในปี พ.ศ.2091 ซึ่งในระยะนั้นสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิพึ่งจะขึ้นครองราชสมบัติได้เพียงหกเดือน
พม่าสมทบกับกองทัพไทยใหญ่และมอญก็เข้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยา เกิดเหตุการณ์ชนช้างระหว่างพระเจ้าแปรและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
ช้างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียทีช้างพระเจ้าแปร
สมเด็จพระศรีสุริโยทัยจึงขับช้างทรงเข้าขวาง โดนข้าศึกฟันถึงแก่ความตายบนคอช้าง
การรบครั้งนี้พม่าไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ จึงยกทัพกลับ
ต่อมาบุเรงนองขึ้นเป็นพระเจ้าหงสาวดี ยกทัพมาล้อมพระนคร
กรุงศรีอยุธยาจึงพ่ายแพ้แก่พม่า
ข้าราชการตลอดจนผู้คนพลเมืองก็ถูกกวาดต้อนไปหงสาวดีเป็นจำนวนมากและทรัพย์สมบัติก็ถูกริบไปเป็นจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน
กล่าวกันว่า กรุงศรีอยุธยาไม่มีวันแตก หากไม่มีไส้ศึก
แต่กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่าในปี พ.ศ.2112สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง
เมื่อ พ.ศ.2127 รวมกรุงศรีอยุธยาตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่า 15 ปี
ปี พ.ศ.2133 สมเด็จพระมหาธรรมราชาสิ้นพระชนม์
สมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาสืบมาเมื่อพระชนม์พรรษาครบ 35 พรรษา
ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระมหาอุปราช
การสืบราชสมบัติของราชวงศ์พระมหาธรรมราชาต่อไปการเสียกรุงศรีอยุธยาและการกู้ชาติครั้งที่สอง
การสืบราชสมบัติของสามราชวงศ์นี้มิได้เป็นไปอย่างราบเรียบ
เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสิ้นพระชนม์แล้วสมเด็จพระเอกาทศรถก็สืบราชสมบัติต่อมา
ส่วนพระเจ้าปราสาททองและพระเพทราชาได้ขึ้นครองราชย์โดยอาศัยการชิงราชสมบัติราชวงศ์บ้านพลูหลวง
แย่งชิงราชสมบัติกันไปมา และที่ได้ขึ้นครองราชสมบัติก็มิได้ทำนุบำรุงบ้านเมือง
ปล่อยให้ทรุดโทรม การผลัดเปลี่ยนแผ่นดินนับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งมามักจะเป็นการชิงราชสมบัติ
ข้าราชการดี ๆ ก็เสียชีวิตเสียเป็นอันมาก
บรรดาเจ้านายและข้าราชการก็เลยแตกสามัคคีกัน แบ่งกันเป็นฝักเป็นฝ่าย
ประจบสอพลอเพื่อความเป็นใหญ่และความปลอดภัยของตนเอง
ประจวบกับเป็นระยะเวลาที่พม่ามีพระเจ้าแผ่นดินที่เข้มแข็ง
กรุงศรีอยุธยาจึงล่มลงเป็นครั้งที่สอง
และครั้งนี้รุนแรงกว่าเมื่อครั้งที่หนึ่ง
พระนครศรีอยุธยายับเยินจนไม่สามารถจะบูรณะให้เป็นนครหลวงได้อีกต่อไป ในปี พ.ศ.2310
แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ
เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ไม่มีพระมหากษัตริย์
บรรดาหัวเมืองที่ยังไม่ได้เสียแก่พม่าก็ตั้งตัวเป็นอิสระ
เมืองน้อยก็ยอมอ่อนน้อมขึ้นต่อเมืองใหญ่ และต่างก็พยายามกู้ชาติ มีถึง 5 พวกด้วยกัน
โดยเฉพาะพวกพระยาตาก (สิน) ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองจันทบุรี เรียกกันว่าเจ้าตาก
มีความสามารถในการรบ เมื่อพม่าล้อมกรุงถูกเกณฑ์มาป้องกันกรุงศรีอยุธยา
เมื่อกรุงจวนจะแตกพระเจ้าตากเห็นว่า พม่าล้อมเข้ามาจวนจะถึงคูพระนคร
และผู้บัญชาการรักษาพระนครอ่อนแอคงจะเสียกรุงแก่พม่า จึงรวมพรรคพวกได้ 500 คน
ตีฝ่าพม่าหนีไปทางทิศตะวันออก รบกับพม่าเรื่อยรายทางตลอดมา และได้ชัยชนะพม่า
ชาวเมืองที่หลบซ่อนพม่าออกมาทรงเห็นพระเจ้าตากมีชัยชนะพม่า
ก็พากันเข้ามาเป็นสมัครพรรคพวกด้วยเป็นจำนวนมาก และตั้งรับพม่าอยู่ที่เมืองระยอง
เมื่อเสียกรุงแล้วกลับตีเมืองจันทบุรีได้ แล้วรบกับสำเภาจีน
ได้สำเภาจีนเป็นพรรคพวกตั้งตัวได้ จึงกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าลักษณะการปกครองในสมัยอยุธยา
การปกครองแบบจตุสดมภ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
ได้ปรับปรุง ระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอม
โดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง การปกครองประกอบด้วยเสนาบดี 4 คนคือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา พร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและ กฏหมายลักษณะอาญาราษฎร
เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรม การบังคับบัญชา ในส่วนกลางแบ่งออกเป็น -ขุนเมือง
ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ
กำนันในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ
ซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาลและคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง
-ขุนวัง ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็น
พนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้า
บรรดาข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในและข้าราชการฝ่ายในทั่วไป
มีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้
ราชการในกรมวังนี้มีความละเอียดกว่าราชการในกรมเมืองต้องรู้วิธีปฏิบัติราชการ
มีความจดจำดีมีความขยันหมั่นเพียรและ ต้องใช้ความรู้ความสามารถ -ขุนคลัง
ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน
ซึ่งจะเข้าในพระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาลซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง
-ขุนนาง มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร
เป็นพนักงานจัดซื้อข้าวขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง
ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็นผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา
นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษา
ความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ การนับเวลาและการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวต่างๆ
ในอดีตโดยมีความสัมพันธ์ก่อให้เกิดความง่ายต่อการทำความเข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆ
โดยมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนดในการศึกษาเรื่องราวการนับเวลาและการเปรียบเทียบศักราชในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
มักนิยมใช้การระบุช่วงเวลาเพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น
โดยจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การนับเวลาแบบไทย
และการนับเวลาแบบสากลการนับเวลาแบบไทยในประวัติศาสตร์ไทย
จะมีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยมีการอ้างอิงถึงการนับช่วงเวลาแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่นมีดังนี้ 1.พุทธศักราช(พ.ศ.)
2. มหาศักราช(ม.ศ.)
3.จุลศักราช (
จ.ศ.)
4.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น