วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2558

ความสำคัญของประวัติศาสตร์ คำว่า “ประวัติศาสตร์” หรือ History มาจากคำภาษากรีกว่า Historia ซึ่งแปลว่า การไต่สวน สืบสวน ค้นคว้า ตรวจสอบ วินิจฉัยเรื่องราวต่าง ๆ นักประวัติศาสตร์และผู้รู้หลายท่านให้คำนิยาม ความหมายของประวัติศาสตร์ ไว้ต่าง ๆ กันมากมายหลายความหมาย แต่ก็ยังไม่มีคำจำกัดความที่ตายตัวแน่นอนมาจน ทุกวันนี้ ลิโอ ตอลสตอย กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์คือเรื่องราวของชีวิต ของประเทศชาติและมนุษยชาติ….” ดร.สมศักดิ์ ชูโต อธิบายว่า “วิชาประวัติศาสตร์พยายามที่จะบันทึกและทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ต่างๆ ในโลกอันเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ทุกด้าน……” พล.ท.ดำเนิร เลขะกุล ได้สรุปความคิดเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ว่า “คือ บันทึกที่บรรยายเรื่องราวทุก ๆ ด้านในอดีตของมนุษย์ และบันทึกนั้นเป็น ความจริงที่สามารถพิสูจน์ได้ซึ่งอาจจะเป็นการเรียบเรียงต่อเนื่องกันมาโดยตลอด หรือเรียบเรียงเฉพาะตอนหนึ่งตอนใดของเรื่องทั้งหมดก็ได้…...” ดร.แถมสุข นุ่มนนท์ ให้ทรรศนะว่า “ประวัติศาสตร์คือ การไต่สวนเข้าไปให้รู้ถึงความจริงที่เกี่ยวกับพฤติกรรมของ มนุษยชาติที่เกิดขึ้นในช่วงใดช่วงหนึ่งของอดีต…” ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวถึง ลักษณะสำคัญของคำว่า ประวัติศาสตร์ว่า “วิชาประวัติศาสตร์เป็นการศึกษาความเป็นมาของมนุษย์ในอดีต ตั้งแต่เมื่อเริ่มมี การจดบันทึกกันด้วยลายลักษณ์อักษร..….” เรื่องราวที่บันทึกในประวัติศาสตร์นั้น ต้องเป็นเหตุการณ์อันสำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตเท่านั้น เพราะในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ นั้น มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย นักประวัติศาสตร์ไม่จำเป็นต้องสนใจทั้งหมด แต่เหตุการณ์อันสำคัญนั้น จะต้องเกี่ยวข้องกับมนุษย์หรือสังคมของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่……” ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ให้ทรรศนะว่า “หัวใจสำคัญ ของประวัติศาสตร์ คือ เรื่องราวของอดีต ซึ่งนักประวัติศาสตร์ค้นคิดขึ้นมาอย่างมีหลักฐาน แล้วก็นำมาถกเถียงถึงความหมายของมันในปัจจุบัน ซึ่งก็หมายความว่าประวัติศาสตร์เป็นเรื่องอดีตที่ถกเถียงกัน มิใช่เรื่องของอดีต เฉย ๆ …..” อีเอช คาร์ กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์คือ ขบวนการอันต่อเนื่องของกริยาตอบโต้ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อเท็จจริง เป็นบทสนทนาที่ไม่รู้จบระหว่างอดีตกับ ปัจจุบัน….” อ.จ.เจริญ ไชยชนะ กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์นับเป็นสาขาของวิทยาการอันหนึ่งที่บันทึก และอธิบายถึงเหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้วในอดีต……” อ.จ.ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งอาจหมายถึง เมื่อไม่นานมานี้ก็ได้…..” จิตร ภูมิศักดิ์ กล่าวว่า “วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยความชัดเจนในการต่อสู้ทางสังคมมนุษย์ ซึ่งวิชานี้เสมือนตัวอย่างของการต่อสู้ทางสังคมแห่งชีวิตของชนรุ่นหลัง…..” พล.ต.โอภาส วงษ์สวัสดิ์ กล่าวว่า “ประวัติศาสตร์คือ “การศึกษาการกระทำต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้คำจำกัดความว่า “ประวัติศาสตร์เป็นวิชาว่าด้วยเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือเรื่องราวของประเทศชาติ เป็นต้น ตามที่บันทึกไว้ในหลักฐาน” ประวัติศาสตร์หมายถึง การศึกษาอดีตของสังคมมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาและสิ่งแวดล้อม ประวัติศาสตร์จึงเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงของสังคม ความคิดและความเชื่อ ที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คน ในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน ประวัติศาสตร์ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของสังคมมนุษย์ที่เชื่อมโยงระหว่างอดีต ปัจจุบัน และอนาคต กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ สังคมมนุษย์ในปัจจุบันล้วนเป็นผลมาจากการกระทำของมนุษย์ในอดีต และอาจส่งผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น การศึกษาอดีตของสังคมมนุษย์ คือ ความพยายามเข้าใจปัจจุบันโดยอาศัยวิธีการสืบค้นเรื่องราวอย่างเป็นระบบจากร่องรอยหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ ซึ่งเรียกว่า วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical method) ประวัติศาสตร์ คือ เรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต โดยเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ และมีผลมาถึงสังคมมนุษย์โดยส่วนรวม ภายใต้สภาวะแวดล้อมของกาลเวลาต่าง ๆ กัน ตามที่ปรากฏหลักฐานหรือมีการบันทึกไว้ ความสำคัญของประวัติศาสตร์ สามารถสรุปได้ดังนี้ ประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง ทำให้รู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับขอบเขตของตน ขณะเดียวกันก็รู้เกี่ยงกับขอบเขตของคนอื่น กล่าวคือช่วยให้มนุษย์รู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น รวมทั้งเข้าใจสังคมของมนุษย์โดยส่วนรวม ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกิดความเข้าใจในมรดก วัฒนธรรมของมนุษยชาติ ความรู้ ความคิดอ่านกว้างขวาง ทันเหตุการณ์ ทันสมัย ทันคน และสามารถเข้าใจคุณค่าสิ่งต่างๆในสมัยของตนได้ ประวัติศาสตร์ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความระมัดระวัง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ฝึกฝนความอดทน ความสุขุมรอบคอบ ความสามารถในการวินิจฉัย และมีความละเอียดเพียงพอที่จะเข้าใจปัญหาสลับซับซ้อน ประวัติศาสตร์เป็นเหตุการณ์ในอดีตที่มนุษย์สามารถนำมาเป็นบทเรียน ให้แก่ปัจจุบัน โดยบทเรียนประวัติศาสตร์ อาจใช้เป็นประสบการณ์พื้นฐานการตัดสินใจ เหตุการณ์ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรืออนาคต และประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหา และวิกฤตการณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักจริยธรรม คุณธรรม ทั้งนี้เพื่อสันติสุขและพัฒนาการของสังคมมนุษย์เอง ประวัติศาสตร์สอนให้คนรู้จักคิดเป็น ไม่หลงเชื่อสิ่งใดง่าย ๆ โดยมิได้ไตร่ตรองพิจารณาให้ ถี่ถ้วนเสียก่อน ประวัติศาสตร์ของชาติย่อมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในบรรพบุรุษ ในตระกูล และในความ เป็นชาติประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดความรักชาติและช่วยกันรักษาชาติบ้านเมืองให้คงอยู่ ทั้งก้าวไปสู่ความเจริญ ประวัติศาสตร์จะเกิดขึ้นได้ด้วยองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ สังคมมนุษย์ หลักฐาน มิติของเวลา และวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยขั้นแรกต้องมีเหตุการณ์หรือพฤติกรรมในสังคมมนุษย์เกิดขึ้น แต่เนื่องจากสังคมมนุษย์เกิดขึ้นมากว่า 500,000 ปีมาแล้ว ความจริงในอดีตจึงต้องอาศัยร่องรอยหลักฐานทาง ประวัติศาสตร์ ซึ่งอาจเกิดจากธรรมชาติหรืออาจเกิดจากสิ่งที่มนุษย์ตั้งใจหรืออาจไม่ตั้งใจจะสร้างหลักฐานขึ้น และเมื่อเกิดหลักฐานขึ้นแล้วต้องอาศัยนักประวัติศาสตร์ หรือผู้ที่สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ทำหน้าที่รวบรวม ตรวจสอบ พิจารณา ไตร่ตรอง วิเคราะห์ ตีความ วินิจฉัย และเรียบเรียงข้อเท็จจริงที่ค้นพบ เพื่ออธิบายเรื่องราวในสังคมนั้น ๆ ว่าเกิดขึ้นเพราะเหตุใด และผลของเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามไม่มีผู้ใดสามารถจำลองอดีตได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ฉะนั้นเหตุการณ์ที่เรียบเรียงขึ้นเป็นประวัติศาสตร์นี้ จึงเป็นเรื่องราวเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมมนุษย์ในอดีตเท่านั้น โดยผู้ศึกษาเห็นว่าเหตุการณ์นั้นมีความสำคัญต่อสังคม และควรเรียนรู้ ถือเป็นบทเรียนของอดีตที่มีผลถึงปัจจุบันและอนาคต การสืบค้นอดีต เพื่อเข้าใจสังคมปัจจุบันและเห็นแนวทางปฏิบัติในอนาคตคือ คุณค่าสำคัญของประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ประวัติศาสตร์ยังช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจ ความรัก และความภูมิใจในชาติของตน เข้าใจลักษณะเฉพาะทางวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์ที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ กัน และที่สำคัญผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะได้รับการฝึกฝนทักษะการคิดวิเคราะห์ การแยกแยะข้อเท็จจริงจากข้อมูลหลักฐานที่หลากหลาย ได้ฝึกฝนการอ่าน การเขียน การเล่าเรื่อง และการนำเสนออย่างมีเหตุผล อันเป็นกระบวนการสร้างภูมิปัญญาอย่างแท้จริง
ความหมายของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เป็นหลักฐานข้อเท็จจริงประกอบในการอธิบายและให้เหตุผลในการเขียนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ในแต่ละยุคอาจเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่เป็นวัตถุได้แก่ ตำนาน จดหมายเหตุ โบราณวัตถุโบราณสถาน ต่างๆ เช่น วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นต้น
ประเภทหลักฐานประวัติศาสตร์ 1. หลักฐานที่จำแนกตามความสำคัญ 1.1 หลักฐานชั้นต้น 1.2 หลักฐานชั้นรอง 2. หลักฐานที่ใช้อักษรเป็นตัวกำหนด 2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร 2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร 3. หลักฐานที่กำหนดตามจุดหมายของการผลิต 3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น 3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง 1.1 หลักฐานชั้นต้น primary sources หมายถึง คำบอกเล่าหรือบันทึกของผู้พบเห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ได้แก่ บันทึกการเดินทาง จดหมายเหตุ จารึก รวมถึงสิ่งก่อสร้าง หลักฐานทางโบราณคดี โบราณสถาน โบราณวัตถุ เช่น โบสถ์ เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป รูปปั้น หม้อ ไห ฯลฯ 1.2 หลักฐานชั้นรอง secondary sources หมายถึง ผลงานที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยคำบอกเล่า หรือจากหลักฐานชั้นต้นต่างๆ ได้แก่ ตำนาน วิทยานิพนธ์ เป็นต้น 2.1 หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร written sources หมายถึง หลักฐานที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ ศิลาจารึก พงศาวดาร ใบลาน จดหมายเหตุ วรรณกรรม ชีวประวัติ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร รวมถึงการบันทึกไว้ตามสิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ แผนที่ หลักฐานประเภทนี้จัดว่าเป็นหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ 2.2 หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร หมายถึง สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งหมดที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ สิ่งก่อสร้าง โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปการแสดง คำบอกเล่า นาฏศิลป์ ตนตรี จิตรกรรม ฯลฯ 3.1 หลักฐานที่มนุษย์ตั้งใจสร้างขึ้น artiface หมายถึง หลักฐานที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต 3.2 หลักฐานที่มิได้เป็นผลผลิตที่มนุษย์สร้างหรือตั้งใจสร้าง หมายถึง วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการสืบค้นเรื่องราวในอดีตของสังคมมนุษย์เริ่มต้นที่ความอยากรู้อยากเห็นของผู้ต้องการ ศึกษาและต้องการสอบสวนค้นคว้า หาคำตอบด้วยตนเอง จากร่องรอยที่คนในอดีตได้ทำไว้และตกทอดเหลือมาถึงปัจจุบัน
ความรู้พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน ความสำคัญของประวัติศาสตร์ สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. ประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง กล่าวคือ ทำให้รู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับขอบเขตของตน ขณะเดียวกันก็รู้เกี่ยงกับขอบเขตของคนอื่น 2. ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกดความเข้าใจในมรดก วัฒนธรรมของมนุษยชาติ ความรู้ ความคิดอ่านกว้างขวาง ทันเหตุการณ์ ทันสมัย ทันคน และสามารถเข้าใจคุณค่าสิ่งต่างๆในสมัยของตนได้ 3. ประวัติศาสตร์ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความระมัดระวัง ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ฝึกฝนความอดทน ความสุขุมรอบคอบ ความสามารถในการวินิจฉัย และมีความละเอียดเพียงพอที่จะเข้าใจปัญหาสลับซับซ้อน 4. ประวัติศาสตร์เป็นเหตุการณ์ในอดีตที่มนุษย์สามารถนำมาเป็นบทเรียน และประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหา และวิกฤตการณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักจริยธรรม คุณธรรม ทั้งนี้เพื่อสันติสุขและพัฒนาการของสังคมมนุษย์เอง ลักษณะและประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ หมายถึง ร่องรอยของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ สร้างสรรค์ รวมทั้งร่องรอยของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในอดีต และเหลือตกค้างมาถึงปัจจุบัน ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องนำทางในการศึกษา สืบค้น แสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยงกับเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ได้ในระดับหนึ่ง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามแบบสากล คือ 1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ จารึก บันทึก จดหมายเหตุร่วมสมัย ตำนาน พงศาวดาร วรรณกรรมต่างๆ บันทึกความทรงจำ เอกสารราชการ หนังสือพิมพ์ กฎหมาย งานวิจัย งานพิมพ์ทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น ( ผนังถ้ำที่เป็นรูปวาดแต่สามารถแปลความหมายได้ จะถือว่าเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น ผนังขิงสุสานฟาโรห์ ) 2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานทางโบราณคดี หลักฐานจากการบอกเล่าและสัมภาษณ์ หลักฐานด้านศิลปกรรม สถาปัตยกรรม นาฏกรรมและดนตรี หลักฐานทางมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณี คติความเชื่อ วิถีชีวิตของกลุ่มชนต่างๆ ฯลฯ ( กำแพงเมือง เมืองโบราณ โครงกระดูก นับว่าเป็นหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ) หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรมีข้อดี และจำกัด ดังนี้ ข้อดี ข้อจำกัด 1. หลักฐานทั้ง 2 ช่วยในการสืบค้นความเป็นจริงในอดีต 2. การมีหลักฐานหลายอย่างช่วยทำให้ได้ความจริงมากขึ้น 3. การมีหลักฐานหลายอย่างสามารถตรวจสอบซึ่งกันและกัน เพื่อหาความชัดเจนได้ดีขึ้น 1. หากผู้บันทึกหลักฐานลายลักษณ์อักษรไม่รู้เบื้องหลังของเหตุการณ์ที่แท้จริง หรือมีอคติกับเรื่องราวที่บันทึก ก็จะไม่ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง 2. หลักฐานลายลักษณ์อักษรต้องอาศัยการตีความ การซักถามจากบุคคล หรือผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่การผิดพลาด หรือเข้าใจผิดได้ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไทยจะอาศัยหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยแบ่งความสำคัญของหลักฐานออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.หลักฐานชั้นต้น หรือ หลักบานปฐมภูมิ (Primary Sources ) หมายถึง บันทึกหรือคำบอกเล่าของผู้พบเห็น หรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือผู้ร่วมสมัยกับเหตุการณ์ จดหมายเหตุ บันทึกการเดินทาง หลักฐานทางโบราณคดี แผนที่ ลายแทง เป็นต้น 2. หลักฐานชั้นรอง ( Secondary Sources ) หมายถึง ผลงานการค้นคว้าที่เขียนขึ้น หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยหลักฐานขั้นต้นประกอบ อาจเพิ่มเติมความคิดเห็น หรือเหตุผลอื่นๆ ประกอบ ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสารต่างๆ เช่น พงศาวดาร ตำนาน เป็นต้น
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ แหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยแต่ละยุคสมัยอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือโดยมนุษย์ได้ทิ้งร่องรอยขีดเขียนเป็นตัวหนังสือประเภทต่างๆ ในรูปของการจารึกในศิลาจารึกและการจารึกบนแผ่นโลหะ นอกจากนี้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรประเภทอื่น เช่น พงศาวดาร จดหมายเหตุ ตำนาน และกฎหมาย หลักฐานที่เป็นวัตถุ ได้แก่ วัตถุที่มนุษย์แต่ละยุคแต่ละสมัยได้สร้างขึ้น และตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่น โบราณสถาน ประกอบด้วย วัด เจดีย์ มณฑป และโบราณวัตถุ ประกอบด้วย พระพุทธรูป ถ้วยชามสังคโลก การแบ่งลำดับความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์เป็น 2 ประเภท คือ หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ เป็นหลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ โดยมีการบันทึกของผู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยตรง หรือผู้ที่รู้เหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง ดังนั้นหลักฐานช่วงต้น จึงเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะบันทึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือผู้อยู่ในเหตุการณ์บันทึกไว้ เช่น จดมายเหตุ คำสัมภาษณ์ เอกสารทางราชการ บันทึกความทรงจำ กฎหมาย หนังสือพิมพ์ ภาพยนตร์ สไลด์ วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียง โบราณสถาน แหล่งโบราณคดี โบราณวัตถุ หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ เป็นหลักฐานที่เขียนขึ้นโดยบุคคลที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง โดยมีการเรียบเรียงขึ้นภายหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นๆ ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของบทความทางวิชาการและหนังสือต่างๆ เช่น พงศาวดาร ตำนาน บันทึกคำบอกเล่า ผลงานทางการศึกษาค้นคว้าของนักวิชาการ สำหรับหลักฐานชั้นรองนั้นมีข้อดี คือ มีความสะดวกและง่ายในการศึกษาทำความเข้าใจ เนื่องจากเป็นข้อมูลได้ผ่านการศึกษาค้นคว้า ตรวจสอบข้อมูล วิเคราะห์เหตุการณ์และอธิบายไว้อย่างเป็นระบบ โดยนักประวัติศาสตร์มาแล้ว ลักษณะสำคัญของหลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในประเทศไทย มีอยู่หลายลักษณะ อาจแบ่งลักษณะสำคัญของหลักฐานออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. หลักฐานที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร ได้แก่ 1.1 โบราณสถาน หมายถึง สิ่งก่อสร้างโดยฝีมือมนุษย์ขนาดต่างๆกัน อยู่ติดกับ พื้นดินไม่อาจนำเคลื่อนที่ไปได้ เช่น กำแพงเมือง คูเมือง วัง วัด ตลอดจนสิ่งก่อสร้างที่อยู่ในวัด และวัง เช่น โบสถ์ วิหาร เจดีย์ และที่อยู่อาศัย การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณสถาน จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ตั้งของโบราณสถานนั้นๆ 1.2 โบราณวัตถุ หมายถึง สิ่งของโบราณที่มีลักษณะต่างๆกัน สามารถนำติดตัว เคลื่อนย้ายได้ ไม่ว่าสิ่งของนั้นๆ จะเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น หรือเป็น ส่วนหนึ่งส่วนใดของโบราณสถาน และสิ่งของที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเหล่านี้เกิดขึ้นในสมัยประวัติศาสตร์ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป รูปเคารพต่างๆ เครื่องประดับ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโบราณวัตถุ ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ทางประวัติศาสตร์เสมอไป และสามารถไปศึกษาได้จากแหล่งรวบรวมทั้งของราชการ เช่น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 2. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ 2.1 จารึก ในแง่ของภาษาแล้วมีคำอยู่ 2 คำที่คล้ายคลึงและเกี่ยวกับข้องกัน คือ คำว่า จาร และจารึก คำว่า จาร แปลว่า เขียนอักษรด้วยเหล็กแหลมลงบนใบลาน คำว่า จารึก แปลว่า เขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นศิลาหรือโลหะ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คำว่า จารึก หมายรวมถึง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งใช้วิธีเขียนเป็นรอยลึก ถ้าเขียนเป็นรอยลึกลงบนแผ่นหิน เรียกว่า ศิลาจารึก เช่น ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง ถ้าเขียนลงบนวัสดุอื่นๆ เช่น แผ่นอิฐ เรียกว่า จารึกบนแผ่นอิฐ แผ่นดีบุก เรียกว่า จารึกบนแผ่นดีบุก และการจารึกบนใบลาน นอกจากนี้ยังมีการจารึกไว้บนปูชนียสถานและปูชนียวัตถุต่างๆ โดยเรียกไปตามลักษณะของจารึกปูชนียวัตถุสถานนั้นๆ เช่น จารึกบนฐานพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย สมัยลพบุรี จารึกบนฐานพระพุทธรูป วัดป่าข่อย จังหวัดลพบุรี ที่มาภาพ : http://pirun.kps.ku.ac.th/~b4927046/mon4_5_clip_image001_0000.jpg จารึกวัดโพธิ์ จังหวัดนครปฐม ที่มาภาพ : http://www.openbase.in.th/files/u10/monstudies035.jpg เรื่องราวที่จารึกไว้บนวัสดุต่างๆ ที่พบในดินแดนประเทศไทย ส่วนมากจะเป็นเรื่องราวของพระมหากษัตริย์และศาสนา จารึกเหล่านี้มีทั้งที่เป็นตัวอักษร ภาษาไทย ภาษาขอม ภาษามอญ ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤต จารึกที่ค้นพบในประเทศไทยมีอยู่จำนวนมาก เช่น จารึกสมัย ทวารวดี จารึกศรีวิชัย จารึกหริภุญชัย และจารึกสุโขทัย ศิลาจารึกหลักที่ 1 จารึกพ่อขุนรามคำแหง ที่มาภาพ http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nongkhai/thanagorn_n/plan_history/image/pic1130704120859.jpg 2.2 เอกสารพื้นเมือง เอกสารพื้นเมืองนับได้ว่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่สำคัญของประเทศไทย มักปรากฏในรูปหนังสือสมุดไทย และเรียกชื่อแตกต่างกันออกไป เช่น ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ ดังมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ตำนาน เป็นเรื่องที่เล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต เล่าสืบต่อกันมาแต่โบราณจนหาจุดกำเนิดไม่ได้ แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าใครเป็นคนเล่าเรื่องราวเป็นคนแรก สิ่งที่พอจะรู้ได้ก็คือ มีการเล่าเรื่องสืบต่อกันมาเป็นเวลานานพอสมควร จนกระทั่งมีผู้รู้หนังสือได้จดจำและบันทึกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมาจึงมีการคัดลอกตำนานเหล่านั้นเป็นทอดๆไปหลายครั้ง หลายครา ทำให้เกิดมีข้อความคลาดเคลื่อนไปเรื่อย ๆ ดังนั้น เรื่องที่ปรากฏอยู่ในตำนานจึงอาจถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเรื่องเดิม เนื้อเรื่องของตำนาน ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมืองหรือชุมชนสมัยดั้งเดิมเกี่ยวกับปูชนียสถานและปูชนียวัตถุ หรือเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลสำคัญ เช่น พระมหากษัตริย์ วีรบุรุษ โดยสามารถจัดประเภทของตำนานไทยได้ 3 ลักษณะ คือ 1.1) ตำนานในรูปของนิทานพื้นบ้าน เช่น เรื่องพญากง พญาพาน ท้าวแสนปม 1.2) ตำนานในรูปของการบันทึกประวัติของพระพุทธศาสนา จุดมุ่งหมายเพื่อรักษาศรัทธา ความเชื่อ สัญลักษณ์ของพุทธศาสนา เช่น ตำนานพระแก้วมรกต 1.3) ตำนานในรูปของการบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง ราชวงศ์ กษัตริย์ และเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับมนุษย์และสัตว์ในอดีต เช่น ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานจามเทวีวงศ์ ตำนานมูลศาสนา ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ 2) พงศาวดาร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสให้ความหมายของพงศาวดารว่าหมายถึง เรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งสืบสันติวงศ์ลงมาถึงเวลาที่เขียนนั้น แต่ต่อมามีการกำหนดความหมายของพงศาวดารให้กว้างออกไปอีกว่าหมายถึง การบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับอาณาจักรและกษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักร พงศาวดารจึงมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีจวบจนกระทั่งสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่ 4) สามารถจำแนกพงศาวดารได้ 2 ลักษณะคือ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาและพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2 ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษธิบดี (ขำ บุนนาค) อย่างไรก็ตามแม้ว่าหลักฐานประเภทพงศาวดารจะมีข้อบกพร่องอยู่มาก แต่ก็เป็นหลักฐานที่มีประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ 3) จดหมายเหตุ ในสมัยโบราณจดหมายเหตุ หมายถึง การจดบันทึกข่าวคราวหรือเหตุการณ์เรื่องหนึ่งๆ ที่เกิดขึ้นในวัน เดือน ปีนั้นๆ แต่ในปัจจุบันนี้ความหมายของคำว่า จดหมายเหตุได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม หมายถึง เอกสารทางราชการทั้งหมด เมื่อถึงสิ้นปีจะต้องนำชิ้นที่ไม่ใช้แล้วไปรวบรวมเก็บรักษาไว้ที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ มีคุณค่าด้านการค้นคว้าอ้างอิงและเอกสารเหล่านี้ เมื่อมีอายุตั้งแต่ 25-50 ปีไปแล้วจึงเรียกว่า จดหมายเหตุหรือบรรณสาร การบันทึกจดหมายเหตุของไทยในสมัยโบราณ ส่วนมากบันทึกโดยผู้ที่รู้หนังสือและรู้ฤกษ์ยามดี โดยมีการบันทึกวัน เดือน ปี และฤกษ์ยามลงก่อนจึงจะจดเหตุการณ์ที่เห็นว่าสำคัญลงไว้ โดยมากจะจดในวัน เวลา ที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น หรือในวัน เวลา ที่ใกล้เคียงกันกับที่ผู้จดบันทึกได้พบเห็นเหตุการณ์นั้นๆ ด้วยเหตุนี้ เอกสารประเภทนี้จึงมักมีความถูกต้องในเรื่องวัน เดือน ปี มากกว่าหนังสืออื่นๆ เช่น จดหมายเหตุของหลวง เป็นจดหมายเหตุที่ทางฝ่ายบ้านเมืองได้บันทึกไว้เป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์และบ้านเมือง จดหมายเหตุโหร เป็นเอกสารที่เกิดขึ้นเนื่องจากโหรซึ่งเป็นผู้ที่รู้หนังสือและฤกษ์ยามจดไว้ตลอดทั้งปี และมีที่ว่างไว้สำหรับใช้จดหมายเหตุต่างๆ ลงในปฏิทินนั้น เหตุการณ์ที่โหรจดไว้ โดยมากเป็นเหตุการณ์เกี่ยวกับดวงดาว
วิธีการทางประวัติศาสตร์มีอยู่ 5 ขั้นตอน คือ การกำหนดหัวเรื่องที่ต้องการจะศึกษา การศึกษาเรื่องราวในประวัติศาสตร์ ควรเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้ทราบจุดประสงค์การศึกษาให้แน่ชัด ซึ่งเราจำเป็นจะต้องตั้งคำถามในสิ่งที่ต้องการศึกษา และใช้การอ่านและสังเกตในการตอบคำถาม นอกจากนี้ ก็ควรต้องมีความรู้พื้นฐานทางประวัติศาสตร์ให้มากเพียงพอ เพื่อที่จะสามารถตอบได้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร การรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้อง การรวบรวมหลักฐานที่ต้องการศึกษา มีทั้งที่เป็นหลักฐานลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอาจอแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกได้เป็น ‘หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ’ กับ ‘หลักฐานชั้นรองหรือหลักฐานทุติยภูมิ’ ดังต่อไปนี้ 1) หลักฐานชั้นต้น (Primary Sources) เป็นหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นๆโดยตรง เช่น หลักฐานทางราชการ ประกาศ สุนทรพจน์ บันทึกความทรงจำของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ผู้เห็นเหตุการณ์ วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ หรือภาพถ่าย เป็นต้น 2) หลักฐานชั้นรอง (Secondary Sources) เป็นหลักฐานที่ทำขึ้นจากหลักฐานชั้นต้น บุคคลที่สร้างขึ้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้นโดยตรง แต่ได้รับรู้โดยผ่านบุคคลหรือผลงานอื่น ด้วยเหตุนี้ หลักฐานชั้นต้นจึงมีความสำคัญมากกว่าหลักฐานชั้นรอง อย่างไรก็ตาม หลักฐานชั้นรองจะเป็นตัวช่วยในการอธิบายเรื่องราวให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และเป็นตัวช่วยที่จะนำไปสู่หลักฐานข้อมูลอื่นๆ การค้นคว้าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ควรมองให้รอบด้านและระมัดระวัง เนื่องจากหลักฐานทุกประเภทมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน การประเมินคุณค่าของหลักฐานที่ได้มา ก่อนจะนำหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นคว้ามาได้มาศึกษา จะต้องมีการประเมินคุณค่าของหลักฐานนั้นเสียก่อน ว่าเป็นหลักฐานที่แท้จริงหรือไม่เพียงใด โดยการประเมินคุณค่าของหลักฐานนี้ อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “การวิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์” ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วิธี ได้แก่ 1) การประเมินคุณค่าภายนอกหรือวิพากษ์วิธีภายนอก คือ การประเมินคุณค่าของหลักฐานจากลักษณะภายนอก และเนื่องจากบางครั้งหลักฐานอาจมีการปลอมแปลงให้ผิดไปจากความเป็นจริง หรือเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองหรือการค้า ดังนั้น การประเมินข้อเท็จจริงของเอกสารจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยการประเมินวิธีภายนอก จะพิจารณาจากสิ่งที่ปรากฏภายนอกเป็นหลัก เช่น การพิจารณาเนื้อกระดาษ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่ามีที่มาจากชาติไหน เป็นต้น 2) การประเมินคุณค่าภายในหรือวิพากษ์วิธีภายใน คือ การประเมินคุณค่าของหลักฐานโดยอาศัยข้อมูลภายในหลักฐานนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ‘ชื่อบุคคล’ ‘สถานที่’ หรือ ‘เหตุการณ์’ ยกตัวอย่างเช่น หากในหลักฐานเชื่อกันว่าเป็นหลักฐานสมัยสุโขทัย แต่เนื้อหาภายในมีการกล่าวถึงสหรัฐอเมริกา ก็ควรตั้งข้อสงสัยว่าหลักฐานนั้นอาจไม่ใช่หลักฐานสมัยสุโขทัยจริง เนื่องจากประเทศสหรัฐอเมริกายังไม่เข้ามาในสมัยสุโขทัย การเก็บหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูล หลังจากแน่ใจแล้วว่าหลักฐานนั้นเป็นของแท้ และให้ข้อมูลที่เป็นจริงตามประวัติศาสตร์ ผู้ศึกษาก็ต้องพิจารณาเพิ่มเติมว่า ข้อมูลทางประวัติศาสตร์นั้นสมบูรณ์มากน้อยเพียงใด หรือข้อมูลนั้นๆมีจุดมุ่งหมายเบื้องต้นอย่างไรบ้าง หลังจากนั้น จึงนำเอาข้อมูลทั้งหลายมาแบ่งหมวดหมู่ตามความเหมาะสม เพื่อให้ง่ายต่อการดำเนินงานขั้นต่อไป ขั้นตอนต่อไป คือ การพยายามหาความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ และตีความข้อมูลนั้นๆว่า มีข้อเท็จจริงอื่นใดที่ยังคงถูกซ่อนและไม่กล่าวถึงอีกบ้าง รวมไปถึงการพิจารณาด้วยว่า ข้อมูลที่ได้มานั้นกล่าวเกินจริงไปหรือไม่ ซึ่งผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จำเป็นต้องมีความละเอียดรอบคอบ เป็นกลาง รอบรู้ หรือมีจินตนาการ เพื่อที่จะนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ หรือจัดหมวดหมู่ได้อย่างเป็นระบบ การเรียบเรียงหรือการนำเสนอข้อมูล หลังจากดำเนินขั้นตอนมาตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว ก็จะมาจบลงที่การเรียบเรียงหรือการนำเสนอ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ขั้นตอนนี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่จะขมวดเอาข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน และนำเสนอให้ตรงกับประเด็นหัวเรื่องที่สงสัย รวมไปถึงการสืบหาความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อจำลองเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ให้กลับมาใหม่อีกครั้ง สำหรับขั้นตอนการนำเสนอ ผู้ศึกษาจะต้องอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีเหตุมีผล และมีข้อมูลสนับสนุนที่น่าเชื่อถือ รวมถึงการปิดท้ายด้วยข้อเสนอแนะ เพื่อนำทางให้ผู้ที่สนใจคนอื่นๆได้ศึกษาต่อไป ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ดีจำเป็นต้องจำลองอดีตด้วยความถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด โดยการใช้ ‘วิธีการทางประวัติศาสตร์’ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในอดีต และนำมาสู่ความเข้าใจในปัจจุบันนั่นเอง
4. ข้อจำกัดของเรื่องราว เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายทั้งที่เกิดขึ้นมานานหรือเพิ่งเกิดขึ้นมีข้อจำกัดหรือความไม่สมบูรณ์ด้วยกัน จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวิเคราะห์เพื่อให้ได้เรื่องราวของเหตุการณ์นั้นๆ มีความถูกต้อง เป็นจริงมากที่สุด ตั้งแต่สาเหตุของเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่ต่อเนื่อง และผลของเหตุการณ์นั้นๆ เพราะอาจมีข้อจำกัดของหลักฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้นหลายประการ เช่น ๑) เหตุการณ์ที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องน้อย ซึ่งอาจเป็นเพราะเหตุผล ดังต่อไปนี้ ๑.๑ เหตุการที่ล่วงเลยมานานมาก อาจหลายร้อยปีหรือเป็นพันปี การสืบค้นหลักฐานจึงเป็นไปได้ยาก ๑.๒ หลักฐานถูกทำ็ลายด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น การสงคราม ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือเก็บรักษาไม่ดี จนทำให้เิกิด การสูญหาย เป็นต้น ๑.๓ การไม่นิยมจดบันทึกด้วยสาเหตุต่างๆ เช่น วัสดุที่จดบันทึกหายาก หรือไม่มีความรู้เรื่องภาษา เป็นต้น ๒) เหตุการณ์ที่มีหลักฐานเกี่ยวข้องมาก ทำให้มีความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่การมีหลักฐานที่มากนั้นก็ทำให้ต้องใช้ เวลาในการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบและระมัดระวัง ๓) เหตุการณ์ที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์มากมายที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย คือ ตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ๔) เหตุการณ์นั้นๆ มีความหมายต่อปัจจุบันอย่างไร
เหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 และการกู้อิสรภาพ ทุกครั้งที่กรุงศรีอยุธยามีเหตุการณ์ภายในไม่เรียบร้อย และทางพม่ามีกษัตริย์ที่เข้มแข็งในการศึก พม่าก็มักจะเข้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยา และเมื่อได้ชัยชนะก็กวาดต้อนผู้คนไปเป็นเชลยและขนเอาทรัพย์สมบัติกลับไปพม่าเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏในปี พ.ศ.2091 ซึ่งในระยะนั้นสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดิพึ่งจะขึ้นครองราชสมบัติได้เพียงหกเดือน พม่าสมทบกับกองทัพไทยใหญ่และมอญก็เข้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยา เกิดเหตุการณ์ชนช้างระหว่างพระเจ้าแปรและสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ช้างสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสียทีช้างพระเจ้าแปร สมเด็จพระศรีสุริโยทัยจึงขับช้างทรงเข้าขวาง โดนข้าศึกฟันถึงแก่ความตายบนคอช้าง การรบครั้งนี้พม่าไม่สามารถตีกรุงศรีอยุธยาได้ จึงยกทัพกลับ ต่อมาบุเรงนองขึ้นเป็นพระเจ้าหงสาวดี ยกทัพมาล้อมพระนคร กรุงศรีอยุธยาจึงพ่ายแพ้แก่พม่า ข้าราชการตลอดจนผู้คนพลเมืองก็ถูกกวาดต้อนไปหงสาวดีเป็นจำนวนมากและทรัพย์สมบัติก็ถูกริบไปเป็นจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน กล่าวกันว่า กรุงศรีอยุธยาไม่มีวันแตก หากไม่มีไส้ศึก แต่กรุงศรีอยุธยาก็เสียแก่พม่าในปี พ.ศ.2112สมเด็จพระนเรศวรทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง เมื่อ พ.ศ.2127 รวมกรุงศรีอยุธยาตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่า 15 ปี ปี พ.ศ.2133 สมเด็จพระมหาธรรมราชาสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระนเรศวรขึ้นครองกรุงศรีอยุธยาสืบมาเมื่อพระชนม์พรรษาครบ 35 พรรษา ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระเอกาทศรถเป็นพระมหาอุปราช การสืบราชสมบัติของราชวงศ์พระมหาธรรมราชาต่อไปการเสียกรุงศรีอยุธยาและการกู้ชาติครั้งที่สอง การสืบราชสมบัติของสามราชวงศ์นี้มิได้เป็นไปอย่างราบเรียบ เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสิ้นพระชนม์แล้วสมเด็จพระเอกาทศรถก็สืบราชสมบัติต่อมา ส่วนพระเจ้าปราสาททองและพระเพทราชาได้ขึ้นครองราชย์โดยอาศัยการชิงราชสมบัติราชวงศ์บ้านพลูหลวง แย่งชิงราชสมบัติกันไปมา และที่ได้ขึ้นครองราชสมบัติก็มิได้ทำนุบำรุงบ้านเมือง ปล่อยให้ทรุดโทรม การผลัดเปลี่ยนแผ่นดินนับตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่งมามักจะเป็นการชิงราชสมบัติ ข้าราชการดี ๆ ก็เสียชีวิตเสียเป็นอันมาก บรรดาเจ้านายและข้าราชการก็เลยแตกสามัคคีกัน แบ่งกันเป็นฝักเป็นฝ่าย ประจบสอพลอเพื่อความเป็นใหญ่และความปลอดภัยของตนเอง ประจวบกับเป็นระยะเวลาที่พม่ามีพระเจ้าแผ่นดินที่เข้มแข็ง กรุงศรีอยุธยาจึงล่มลงเป็นครั้งที่สอง และครั้งนี้รุนแรงกว่าเมื่อครั้งที่หนึ่ง พระนครศรีอยุธยายับเยินจนไม่สามารถจะบูรณะให้เป็นนครหลวงได้อีกต่อไป ในปี พ.ศ.2310 แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ไม่มีพระมหากษัตริย์ บรรดาหัวเมืองที่ยังไม่ได้เสียแก่พม่าก็ตั้งตัวเป็นอิสระ เมืองน้อยก็ยอมอ่อนน้อมขึ้นต่อเมืองใหญ่ และต่างก็พยายามกู้ชาติ มีถึง 5 พวกด้วยกัน โดยเฉพาะพวกพระยาตาก (สิน) ตั้งตัวเป็นใหญ่อยู่ที่เมืองจันทบุรี เรียกกันว่าเจ้าตาก มีความสามารถในการรบ เมื่อพม่าล้อมกรุงถูกเกณฑ์มาป้องกันกรุงศรีอยุธยา เมื่อกรุงจวนจะแตกพระเจ้าตากเห็นว่า พม่าล้อมเข้ามาจวนจะถึงคูพระนคร และผู้บัญชาการรักษาพระนครอ่อนแอคงจะเสียกรุงแก่พม่า จึงรวมพรรคพวกได้ 500 คน ตีฝ่าพม่าหนีไปทางทิศตะวันออก รบกับพม่าเรื่อยรายทางตลอดมา และได้ชัยชนะพม่า ชาวเมืองที่หลบซ่อนพม่าออกมาทรงเห็นพระเจ้าตากมีชัยชนะพม่า ก็พากันเข้ามาเป็นสมัครพรรคพวกด้วยเป็นจำนวนมาก และตั้งรับพม่าอยู่ที่เมืองระยอง เมื่อเสียกรุงแล้วกลับตีเมืองจันทบุรีได้ แล้วรบกับสำเภาจีน ได้สำเภาจีนเป็นพรรคพวกตั้งตัวได้ จึงกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่าลักษณะการปกครองในสมัยอยุธยา การปกครองแบบจตุสดมภ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุง ระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอม โดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง การปกครองประกอบด้วยเสนาบดี 4 คนคือ ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา พร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและ กฏหมายลักษณะอาญาราษฎร เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรม การบังคับบัญชา ในส่วนกลางแบ่งออกเป็น -ขุนเมือง ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนันในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ ซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาลและคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้าง -ขุนวัง ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็น พนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้า บรรดาข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในและข้าราชการฝ่ายในทั่วไป มีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้ ราชการในกรมวังนี้มีความละเอียดกว่าราชการในกรมเมืองต้องรู้วิธีปฏิบัติราชการ มีความจดจำดีมีความขยันหมั่นเพียรและ ต้องใช้ความรู้ความสามารถ -ขุนคลัง ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะเข้าในพระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาลซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวง -ขุนนาง มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าวขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็นผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษา ความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ การนับเวลาและการแบ่งช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวต่างๆ ในอดีตโดยมีความสัมพันธ์ก่อให้เกิดความง่ายต่อการทำความเข้าใจในเหตุการณ์ต่างๆ โดยมีระยะเวลาเป็นตัวกำหนดในการศึกษาเรื่องราวการนับเวลาและการเปรียบเทียบศักราชในการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มักนิยมใช้การระบุช่วงเวลาเพื่อให้ทราบถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยจะแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การนับเวลาแบบไทย และการนับเวลาแบบสากลการนับเวลาแบบไทยในประวัติศาสตร์ไทย จะมีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยมีการอ้างอิงถึงการนับช่วงเวลาแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่นมีดังนี้ 1.พุทธศักราช(พ.ศ.) 2. มหาศักราช(ม.ศ.) 3.จุลศักราช ( จ.ศ.) 4.รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)

วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558




พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ ๙

      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ  ทรงพระนามเดิมว่า “พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสใน สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดชกรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และ หม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี)

      พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพ เมื่อ วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเคมบริดจ์ เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาซูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

ทรงเป็นพระราชโอรสองค์เล็กใน สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี (เดิมทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์)

ทรงมีพระเชษฐภคินี คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาส ราชนครินทร์ และ พระบรมเชษฐาธิราช คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล

      ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี เสด็จจากสหรัฐอเมริกา นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งแรก

      ครั้้นเมื่อ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนกก็เสด็จสวรรคต ณ กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๔๗๖ จึงได้โดยเสด็จพระบรมราชชนนี พร้อมกับพระเชษฐภคินี และพระบรมเชษฐาธิราชไปประทับ ณ ตำหนักวิลล่าวัฒนา เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
     
      ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ได้โดยเสด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล นิวัติประเทศไทยเป็นครั้งที่สอง ประทับณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐานประมาณ ๓ เดือน จึงโดยเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์

      ในเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๘ ได้โดย เสด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมกับ สมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ นิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สาม ประทับณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวังในระหว่างที่ประทับอยู่ในประเทศไทย ๒ ครั้งหลังนี้ได้โดยเสด็จ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ตลอดมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการเสด็จไปทรงเยี่ยมราษฎรทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดหลายครั้ง
          
      ครั้นในวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ พระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคตโดยกระทันหัน รัฐสภามีมติเป็นเอกฉันท์กราบบังคมทูลเชิญขึ้นครองสิริราชสมบัติ สืบราชสันตติวงศ์ เฉลิมพระปรมาภิไธย ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช”

      ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ กลับไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่ง เพื่อทรงศึกษาต่อ คราวนี้ ทรงเลือกศึกษาวิชากฎหมายและการปกครอง แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่เคยทรงศึกษาแต่เดิม เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชภาระที่ต้องทรงรับในฐานะพระมหากษัตริย์ของประเทศ

      ทรงประสบอุบัติเหตุ ในวันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๑ เมื่อรถยนต์พระที่นั่งที่ทรงขับชนกับรถยนต์บรรทุกขนาดใหญ่ บริเวณริมทะเลสาปเยนีวา ทรงได้รับบาดเจ็บที่พระเศียร พระพักตร์และพระเนตรด้านขวา ต้องประทับรักษาพระอาการประชวรเป็นเวลา ๕ เดือน จึงมีพระพลานามัยดีเหมือนเดิม

      ในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัตประเทศไทยเป็นครั้งที่สี่ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๓
           
      ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัด งานพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ณ วังสระปทุม พร้อมกับทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีขึ้น

      เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระบรมมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยเป็น “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” ในโอกาสนั้นได้ทรงมีพระบรมราชโองการว่า “เราจักครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และ ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี

     เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกทรงผนวชณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และประทับจำพรรษาที่วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา ๑๕ วัน โดยมี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีมีพระโอรสและพระราชธิดารวม ๔ พระองค์ ได้แก่

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี
ประสูติเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๔ ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับชาวต่างชาติ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ
ประสูติเมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ต่อมาได้นับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาราช สยามมงกุฎราชกุมาร

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดากิติวัฒนาดุลโสภาคย์ 
ประสูติเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๙๘ ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุรากรปิยชาติสยามบรมราชกุมารี

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณ์วลัยลักษณ์อัครราชกุมารี
ประสูติเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐
“พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร”“พระบาทสมเด็จพระปรมิ
 เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี  พระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ซึ่งในวันที่ 20 กันยายนนี้เอง ที่เป็นวันคล้ายพระราชสมภพของรัชกาลที่ 5 วันนี้สกูปเอ็มไทย จึงนำข้อมูลพระราชประวัติอย่างย่อ ของรัชกาลที่ 5มาฝากกันครับ
รัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 5
พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นามเต็มคือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พงศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์มีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
การศึกษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับการศึกษาเบื้องต้นในสำนักพระเจ้าอัยยิกาเธอ กรมหลวงวรเสรฐสุดา ทรงศึกษาภาษาเขมรจากหลวงราชาภิรมย์ อีกทั้งทรงรับการยิงปืนไฟจากพระยาอภัยเพลิงศรอีกด้วย
พระราชลัญจกร
พระราชลัญจกร รัชกาลที่ 5
พระราชลัญจรกรประจำพระองค์
พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง 5.5 ซ.ม. ยาว 6.8 ซ.ม. โดยมีตรา พระเกี้ยว หรือ พระจุลมงกุฏ ซึ่งประดิษฐานบนพานแว่นฟ้า 2 ชั้น มีฉัตรบริวารตั้งขนาบทั้ง 2 ข้าง ถัดออกไปจะมีพานแว่นฟ้า 2 ชั้น ทางด้านซ้ายวางสมุดตำรา และทางด้านขวาวางพระแว่นสุริยกานต์เพชร โดยพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นการเจริญรอยจำลองมาจากพระราชลัญจกรของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การประกาศเลิกทาส
การประกาศเลิกทาส
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้มีการ เลิกทาส การป้องกันการเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส และจักรวรรดิอังกฤษ นอกจากนี้ังนำระบบความเจริญก้าวหน้าของชาติตะวันตกมาใช้พัฒนาในประเทศไทย เช่น ระบบการใช้ธนบัตรและ เหรียญบาท สร้างระบบเขตการปกครองใหม่ เช่น จังหวัด อำเภอ และได้มีการสร้างรถไฟ สายแรก คือ กรุงเทพฯ ถึง เมืองนครราชสีมา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ร.ศ. 109 (พ.ศ. 2433) เป็นต้น
พระโกศทองใหญ่
พระโกศทองใหญ่
สวรรคต
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ (ไต) เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 2.45 นาฬิกา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต รวมพระชนมพรรษาได้ 57 พรรษา ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดให้วันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันปิยมหาราช และเป็นวันหยุดราชการ
10 อันดับ ตำนานน่ากลัวของโลก
อันดับ 10 เพชรโฮป 
(Hope Diamond)

เป็นเพชรสีนํ้าเงินขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีนํ้าหนักถึง 45.52 กะรัต โดยพ่อค้าฝรั่งเศสนาม จอห์น แบ็บติส ทราวิเนียร์ ได้ขโมยมาจากพระนลาฏ (หน้าผากเทวรูปฮินดูในวิหารแห่งหนึ่งของอินเดีย เมื่อราว ค.. 1600 โดยหารู้ไม่ว่าโคตรเพชรนี้มีคําสาปติดมาด้วย นั่นคือ มันผู้ใดที่ขโมยหรือครอบครองเพชรโฮป จะต้องประสบความวิบัติทุกรายไปและก็จริงตามคําสาปครับ นับตั้งแต่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งทรงซื้อเพชรนี้จากนายทราวิเนียร์ พระองค์และ พระราชวงศ์ก็ทรงได้รับภัยร้ายกาจจากการปฏิวัติของฝรั่งเศสตลอด กระทั่งนาย เฮนรีย์ ฟิลิป โฮป (เจ้าของชื่อเพชรเม็ดนี้นายปิแอร์ คาร์เทียร์ (พ่อค้าอัญมณีชื่อดังที่เรารู้จักกันดีฯลฯ ล้วนประสบกับอัปมงคลจนถึงผู้ครอบครองรายสุดท้ายคือ ตระกูลของ เซอร์ ฮาร์รีย์ วินสตัน ได้ให้เลดี้ไฮโซ ผู้หนึ่งยืมสร้อยคอเพชรโฮป สวมใส่ในงานราตรี สองเดือนต่อมา ลูกน้อยของเธอก็ตายอย่างลึกลับ สามีกลายเป็นบ้าและต้องหย่าขาดกัน ในที่สุด ทายาทตระกูลวินสตันจึงมอบเพชรโฮปให้สถาบันสมิธ โซเนียนของสหรัฐฯ เป็นผู้อนุรักษ์แทนครับ

อันดับ 9 วิหารกระดูก แห่งเมือง อีโวราโปรตุเกส วิหารนี้สร้างในศตวรรษที่ 15 โดยพระนิกายฟรานซิสกัน ที่ประหลาดพิสดารคือ ผนังภายในวิหารนี้สร้างขึ้นจากกระดูกของมนุษย์กว่า 5,000 คนครับ เท่านั้นไม่พอ มีซากศพ 2 ร่าง ห้อยแขวนติดผนังด้านหนึ่งด้วยตํานานวัดระบุว่า ครั้งกระโน้นมีสตรีนางหนึ่งซึ่งยึดมั่น ในคาทอลิก แต่ได้ถูกสามีผู้โมโหร้ายกับลูกชายของ เธอเองช่วยกันโบยตีจนตาย ก่อนสิ้นชีวิต เธอได้สาป ให้วิญญาณของเขาทั้ง 2 ลงนรก แม้แต่พื้นพสุธา ก็จะไม่ยินดีรับร่างของเขาไว้ ไม่นานนัก ชายทั้งสองก็ถึงแก่มรณกรรม ชาวเมืองพยายามขุด หลุมฝังศพของเขา แต่ขุดลงไปที่ใดก็เจอะแต่หิน เมื่อจนปัญญา พวกเขาจึงนําเอาซากศพทั้งสองขึ้น ไปห้อยแขวนไว้กับ ผนังวิหารดังกล่าว สําหรับให้นักบวชได้ใช้ปลง ในระหว่างทําสมาธิครับ ก็นับเป็นคําสาปที่ขลังยิ่ง

อันดับที่ 8 ละครเรื่อง แม็คเบ็ธ (Macbeth) ของเชคสเปียร์ 
ละครเรื่องนี้มีฉากที่เกี่ยวกับแม่มดและ คําสาปมนต์ดํา ว่ากันว่าทําให้แม่มดตัวจริงสมัยนั้น เคืองแค้น ที่เชคสเปียร์นําเอาเรื่องลับของพวกเขามาเปิดเผย จึงสาปให้ละครเรื่องนี้มีอันเป็นไป-หากใครนํามาแสดงโดยเฉพาะตัวละครที่เล่นบทแม็คเบ็ธ ผลของคําสาปอุบัติขึ้นตั้งแต่หนแรกสุดที่ละครนี้ออกแสดง โดยผู้แสดงที่ชื่อ ฮัล เบอร์ริดจ์ ซึ่งสวมบทเลดี้เอม ได้ล้มเจ็บลงในคืนนั้น และสิ้นใจตายหลังเวที และนับแต่นั้นมาเกือบ 400 ปี ละครเรื่องนี้ก็มีอาถรรพณ์เกิดขึ้นกับนักแสดงมาตลอด เช่น มีอุบัติเหตุบาดเจ็บ ล้มตาย บางคนฆ่าตัวตาย และที่น่าพรึงเพริดที่สุดก็คือ ในปี ค.. 1947 นักแสดงชื่อ ฮาโรลด์ ทอร์แมน เป็นผู้รับบทแม็คเบ็ธ ในระหว่างการดวลดาบนั้น คู่ต่อสู้ของเขาลืมสวมที่ครอบปลายดาบ พอแม็คเบ็ธ ถูกแทงล้มลง กลางเวที ผู้ดูต่างก็ปรบมือพอใจในบทบาท หากทว่า หลังเวทีนั่นซิ ต่างก็ตกใจกันยิ่งนักที่เขาโดน แทงจริงๆ ทอร์แมนตายใน สัปดาห์ต่อมา 

อันดับ 7 คําสาปของ อลิสแตร์ ครอว์ลีย์ พ่อมดแห่งทะเลสาบล็อคเนสส์
สกอตแลนด์ ปี 1899 ครอว์ลีย์อาศัยอยู่ในบ้านอย่างโดดเดี่ยว ทางตอนใต้ของทะเลสาบที่ลือลั่นในเรื่องอสุรสัตว์ กล่าวกันว่าเขา ขมังในเรื่องเวทมนตร์และเลี้ยงวิญญาณภูตไว้ถึง 115 ตน เขาสามารถดลบันดาลให้ เพื่อนบ้านหลายคนมีอันเป็นไปนานา จนเป็นที่หวาดหวั่นไปทั่ว ก่อนตาย ครอว์ลีย์ ได้สาปทิ้งท้ายไว้กับยอด เขาแห่งหนึ่งซึ่งเรียกกันว่า "ปล่องไฟปีศาจและครอว์ลีย์เคยหลงทางที่ยอดเขานี้ ซึ่งทําให้เขาขัดเคืองใจ จึงสาปว่าเมื่อใดที่ยอดเขานี้พังทลาย สิ่งชั่วร้ายต่างๆก็จะถูกปลดปล่อยแผ่กระจายไปด้วย "ปล่องไฟปีศาจยืนหยัดอยู่นานนับพันปี แต่แล้วในเดือนเมษายน 2001 ยอดสูงราว 70 เมตร ก็มีอันถล่มทลายลงมาในทะเล เรื่องนี้ทําให้ผู้ที่เชื่อถือในตํานานพากันผวาไปตามกันเลยครับ ป่านนี้นรกคงครอบคลุมแผ่นดินแล้ว!

อันดับ คําสาปวูดูแห่งนิวออร์ลีนส์สหรัฐฯ แม่มดวูดูผู้นี้มีนามว่า มารี ลาโว มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.. 1800 กว่าๆ เพื่อนบ้านรํ่าลือกันว่าเธอสามารถสาปได้ทั้งคนและสัตว์ โดยใช้มนต์ดําของวูดู กระทั่งทุกวันนี้ยังมีการ จัดทัวร์พาไปชมบ้านของเธอ รวมทั้งบนบานขอให้เธอช่วยสาปใครก็ได้ เรียกกันว่า บลัดดี้มารีทัวร์ ทั้งนี้ ผู้ขอจะต้องปฏิบัติดังนี้ครับ เริ่มจากเคาะ 3 ครั้งบนโลงศพของมารี แล้วหมุนกายทวนเข็มนาฬิกา 3 รอบ เซ่นเหล้ารัม ข้ามหลุมศพ 3 หน แล้วเปล่งชื่อของเธอออกมาดังๆ จากนั้นก็บอกกล่าวถึงจุดประสงค์ของคุณ (ว่าจะให้เธอดลให้ศัตรูของคุณวิบัติอย่างไรไม่เชื่อก็เดินทางร่วมทัวร์ไปพิสูจน์ได้ 
อันดับ 5 คําสาป ตุตันคาเมนสรุปสั้นๆแค่ว่า ทั้ง โฮวาร์ด คาร์เตอร์ลอร์ด คาร์นาวอน และผู้มีส่วนรบกวนสุสานของฟาโรห์องค์ นี้ ล้วนมีอันล้มหายตายจากก่อนวัยอันควรทั้งนั้น ตุตันคาเมน เป็นฟาโรห์หนุ่มที่ถูกกล่าวถึงกันมากในเรื่องอาถรรพ์จากคำสาปที่นักบวชแดนไอย์คุปต์บรรจงสลักไว้ในสุสานของพระองค์ ข้อความคลังเปี่ยมด้วยอาถรรพ์ที่ว่า "มรณะจักโบยบินมาสังหารสู่ผู้บังอาจรังควานสันติสุขแห่งพระองค์ฟาโรห์ทำให้มีการตายอย่างน่าพิศวงซ้ำแล้วซ้ำเล่า เชื่อกันว่า ความตายเหล่านั้นเกิดขึ้นเพราะฤทธิ์คำสาป
นับแต่สุสานถูกเปิดเมื่อปี 1922 ผู้ร่วมพิธีเปิดเสียชีวิตไป 22 คน และเล่ากันว่า นับจากนั้นมาแม้เวลาจะผ่านไปนานเท่าไร หากครั้งใดที่ฟาโรห์ตุตันคาเมนถูกรบกวนก็ย่อมจะมีผู้ที่สังเวยต่อคำสาปอันลี้ลับนี้เสมอมา รวมถึงลอร์ดคาร์นาร์วอน เจ้าของทุนในการขุดค้นสุสานก็เสียชีวิตลงหลังจากถูก "ยุงกัด"
"
ตุตันคาเมนเป็นฟาโรห์องค์ที่ 12 ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์ ทรงขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนม์เพียง 10 พรรษา ทรงเป็นกษัตริย์อียิปต์โบราณในช่วงปี 1334 - 1323 ก่อนคริสตกาล ภายหลังขึ้นครองราชย์ได้เปลี่ยนพระนามเป็น "ตุตันคามุน"พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เมื่อพระชนม์เพียงแค่ 18 พรรษาโดยไม่ทราบสาเหตุแต่เชื่อกันว่าฟาโรห์หนุ่มองค์นี้ถูกลอบปลงพระชนม์อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีข่าวออกมาแย้งว่าจากการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่พบว่าพระองค์น่าจะสิ้นพระชนม์จากบาดแผลที่ติดเชื้อมากกว่าถูกลอบปลงพระชนม์
ด้วยระยะเวลาอันสั้นในการครองราชย์ทำให้ทรงไม่มีภารกิจใดมากนัก นอกจากนั้นหลังสิ้นพระชนม์ทรงถูกกษัตริย์องค์ต่อมาลบทุกสิ่งทุกอย่างรวมทั้งพระนามของตุตันคาเมนออกจากรายนามพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ ทำให้ไม่มีนักประวัติศาสตร์คนใดรู้จักพระนามของพระองค์เลย
จนกระทั่งในวันที่ 4 พฤศจิกายน 1922 โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ และลอร์ด คาร์นาวอน ชาวอังกฤษค้นพบสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดในโลก พวกเขาเป็นสองคนแรกที่เข้าไปในสุสานของตุตันคาเมนในรอบ 3,000 ปี ในห้องที่พวกเขาพบเต็มไปด้วยทองคำและของมีค่ามากมายซึ่งเจ้าของของสิ่งมีค่าเหล่านี้คือฟาโรห์หนุ่มที่มีพระนามว่า "ตุตันคาเมนนั่นเอง
เนื่องจากพระศพและสุสานที่สร้างขึ้นไม่ได้สลักชื่อว่าเป็นของกษัตริย์ เลยรอดพ้นเงื้อมมือโจรที่คอยปล้นและทำลายสุสานไปได้ จึงทำให้ทุกอย่างยังคงสภาพที่สมบูรณ์ที่สุด แต่กระนั้น พระองค์ก็ยังทรงไม่วายถูกรบกวนหลังจากโลงพระศพถูกเปิด อาถรรพ์ของคำสาปจึงเป็นเกราะอย่างหนึ่งที่จะทำให้ฟาโรห์ตุตันคาเมนทรงได้พักผ่อนอย่างสงบตลอดกาล 

อันดับ 4 อีกา แห่งป้อมปราสาท ลอนดอน (Tower of London)

ป้อมปราสาทนี้ เป็นที่รู้จักกันดี ในฐานะถูก ใช้เป็นที่คุมขังและ ประหารบุคคลสําคัญๆ ของอังกฤษมากมาย หลายท่าน ณ ลานปราสาทแห่งนี้จะมีการเลี้ยงดูอีกา จํานวน 6 ตัว เนื่องจากมีคําสาปมานานกว่า 900 ปี ว่า ถ้าหากอีกาลดจํานวนลงเมื่อใด เมื่อนั้นความหายนะจะมาเยือน นครลอนดอน และสิ้นสุดพระราชวงศ์แห่ง อังกฤษเรื่องนี้มีตํานานปรากฏเป็นเอกสาร ในสมัยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 2 ราวศตวรรษที่ 17 ด้วยนะครับ ไม่ใช่ เรื่องเลื่อนลอยแต่ อย่างใด และทําให้ทุกคนไม่ว่าจะเป็นยาม หรือกษัตริย์ถือเป็น เรื่องจริงจังอ ย่างเคร่งครัด เช่นว่า ถ้ามีอีกาตายหนึ่งตัว จะต้องรีบถวายรายงานต่อควีนทันที และต้องจัดหาอีกาตัวใหม่ มาทดแทนโดยด่วน ซึ่งอีกาทุกตัวจะมีชื่อเรียก และถ้าตายก็จะถูกนําไปฝังอย่างมีพิธีการ จะมีการเลี้ยงอีกาไว้สํารองตลอดเวลา ถ้าตัวใดล้มป่วย ก็ต้องรีบตรวจสอบ หาไม่ถ้าหากตายโดยโรคติดต่อ (เช่น ไข้หวัดนกและเช้าขึ้นมาอีกาตายเกลี้ยงละก้อ เชื่อกันว่าทั้งพระราชวงศ์ก็จะอันตรธานไปเช่นกัน 
อันดับ 3 คําสาปตะกั่วแห่งกรีซ 
ใน ค
.. 1979 มีการขุดค้นโบราณสถานชื่ออโกรานครเอเธนส์ ทําให้พบแผ่นม้วนตะกั่วบางๆ ซึ่งมีจารึกภาษาโบราณอันเป็นคําสาปปรากฏอยู่ แผ่นตะกั่วนี้เรียกกันว่า คาตาเรส (Katares) ใช้ใส่ลงในโลงศพก่อนจะฝัง เชื่อกันว่าตะกั่วจะทําให้คําสาปจมลงไปอย่างรวดเร็วถึงขุมนรกพร้อมกับวิญญาณผู้ตาย เพื่อที่พระยมจะได้อ่านคําสาปและดลบันดาลให้เป็นไปตามนั้น นอกจากนี้ การฝากหรือทิ้งแผ่นคําสาปลงไปในนํ้าก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง เพราะนํ้าจะสามารถสื่อ ไปถึงผู้ที่เราต้องการสาปได้ ซึ่งแผ่นคาตาเรสกว่า 100แผ่นที่ค้นพบนี้ได้ระบุจ่าหน้าถึง ซูลิส ไมเนอร์วา ซึ่งเป็นเทพีด้านอุทกของโรมันครับ 
อันดับ 2 คําสาป วัฏจักรมรณกรรม ของประธานาธิบดีสหรัฐฯ
นี่ก็เป็นอาถรรพณ์อีกอย่างซึ่ง โด่งดังมาก นั่นคือ ปธนสหรัฐฯ ท่านใดที่ได้รับเลือกตั้งในปี ค.ที่ลงท้ายด้วยเลข 0 จะต้องถึงแก่ มรณกรรมในหน้าที่ ตํานานระบุว่า ผู้ที่สาปก็คือ เตคัมเซ่ หัวหน้าเผ่าอินเดียนแดง ผู้คับแค้นจากการถูกชนผิวขาวเข้ามายํ่ายีแย่งแผ่นดินเขาได้สาปไว้ก่อนที่จะถูกฆ่าตายในปี ค.. 1813 ปธน.คนแรกที่ตกเป็นเหยื่อก็คือ วิลเลียม เฮนรีย์ แฮร์ริสัน ที่ได้รับเลือกตั้งใน ค.. 1840 ถัดจากนั้นคําสาปก็เป็นจริงมาตลอด ไม่ว่าจะเป็น ลิน-คอล์น (1860) การ์ฟิลด์ (1880) แม็คคินลีย์ (1900) ฮาร์ดิ้ง (1920) รูสเวลท์ (1940) เคนเนดี้ (1960) เพิ่งมีรอดรายเดียวคือ ปธนเรแกน (1980) แต่ท่านก็ถูกมือปืนชื่อ จอห์น ฮิงค์ลีย์ ยิงบาดเจ็บสาหัสในปี 1981 นัยว่าปืนที่ใช้นั้นไร้ประสิทธิภาพ ท่านจึงรอดพ้น อาถรรพณ์มาได้อย่างหวุดหวิด 
อันดับ 1 คําสาปในสวนอีเดน (Garden of Eden)
นับเป็นคําสาปแรกเริ่มสุดๆ ตั้งแต่ครั้งพระเจ้าสร้างโลกโน่นเลยครับ โดยปรากฏเรื่องราวอยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิลว่า ก็อดทรงเสกอาดัม-มนุษย์ผู้ชายขึ้นก่อน จากนั้นก็แซะเอาซี่โครงของอาดัมมาเสกเป็นอีฟ แล้วส่งทั้งคู่ไปอยู่ในสวนอีเดน พร้อมรับสั่งว่าจะกินอะไรก็ได้ทุกอย่าง ยกเว้นผลไม้จากต้นแห่ง ความรู้หรือแอปเปิ้ล แต่ X งูตัวแสบซิครับ มันยุยงอีฟให้หมํ่า แอปเปิ้ลเข้าไป หมํ่าคนเดียวไม่พอ อีฟยังชักชวนให้อาดัมหมํ่าด้วย เมื่อขัดคําสั่งของพระเจ้า ก็เป็นเรื่องซิครับ โดย X งูจอมแสบ โดนสาปให้ไปไหนมาไหน ด้วยการ ใช้ท้องไถไป อีฟโดนสาปให้คลอดลูก ด้วยความเจ็บปวดรวดร้าว ส่วนอาดัมต้องทํางานหา เลี้ยงท้องอย่าง เหน็ดเหนื่อยทั้งชีวิต ซึ่งคําสาปมหากาฬนี้ก็ตกทอดมาถึงพวกเราทุกคนกระทั่งทุกวันนี้ 

เปงยังไงกันบ้างคับ น่ากลัวหรือเปล่า ผมอ่านแล้วยังหลอนเองเลย
ยังไงก็ฝากคอมเม้นด้วยนะครับ รักและคิดถึงผู้อ่านทุกคนคับ